News Of SiamBirds

News Bird in Thailand.

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

NEWS PITTA DOUBLE! in THAILANDS

In contrast to winter 2007/2008, when at least three bird species were added to the Thai list, the past cool season (2008/2009) brought no mega-surprises.? But recent events have more than made up for that seeming dearth, with two species of pitta likely to be added to the Thailand tally (making a remarkable 14 pittas for the country in total).?
Banphot Kittikinglert, Korn Ratanasthien??and Ratha??Rodcharoen?were looking for a Hooded Pitta at Phutthamonthol, a park on the western outskirts of Bangkok, when they found a Fairy Pitta Pitta nympha, a globally threatened species which breeds in S Japan, Korea, and which winters in eastern Borneo.?? Once photos were widely circulated on 16 April, over a hundred observers and photographers descended on the site. ?Cooperation among birders and photographers was exemplary and most succeeded in getting outstanding views and photographs of the bird in the ensuing two days.? A 10?20 degrees longitude westwards displacement of the normal migration route is necessary to bring this bird over Thai territory. Only two weeks earlier, another Bornean winterer, a Narcissus Flycatcher was found at the same site. The record is all the more remarkable because of the length of stay? a full week, from 11?17 April. (According to conventional wisdom, northbound spring birds are in a hurry to return to their breeding grounds, and establish territories, and rarely stop off for more than a couple of days.)
The other new pitta for the country list is a likely Blue-naped Pitta P. nipalensis that was found and identified by Dr. Nantawan Suanka, Warin Komson, Rujira Phongsunon and Nolapan Vudhivanich at Na Haeo, Loei Province, in the north of the country, on 1 March.? The habitat was secondary bamboo-dominated forest. Unlike the Fairy Pitta, this has yet to be documented by photographs, but the description leaves little room for doubt and acceptance by BCST Records Committee is a mere formality.?
Blue-naped Pitta ranges from the eastern Himalayas, eastwards to Burma, S China, N Laos and northern Vietnam. This species was previously predicted as of possible occurrence by Philip Round in Appendix 2 of Guide to the Birds of Thailand (1991) and is likely to be resident in Loei .

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552

Situation in Wieng Nong Lom Wetland

Wieng Nong Lom Wetland is a complex of nine freshwater lakes adjacent to the Ramsar site of Nong Bong Kai Non-Hunting Area in northern Chieng Rai province. The overall area is a part of Chieng Saen Basin along Mekhong River.Although Nong Bong Kai Non-Hunting Area is recognized as a wetland of international importance, as a Ramsar Site, but Wieng Nong Lom Wetland was excluded inexplicably and faces threats that need urgent attention.On February 28th,2008, a workshop was organized under the theme of “Nong-Bong Kai and Wieng Nong Lom Wetland Conservation through People’s Participation,” which was attended by 81 participants from concern government agencies, local administrators, local groups, school teachers and NGOs.The organizers were Birds Conservation Society of Thailand, Rajabhat Chieng Rai’s Biodiversity Centre, Lanna Bird and Conservation Club and Nong Bong Kai Non-Hunting Area. Some problems, due to lacking of proper management at Wieng Nong Lom Wetland, were found as following;
1. The variety of fish has decreased and some species have disappeared from lakes. Local people reported that illegal fishing methods such as fish poisoning and electrocuting were being used.
2. The environment of the wetland has been changed. Some orange orchards have encroached on part of the wetland and water is diverted from these natural lakes. Chemical contamination from the use of pesticides is also a Golden Apple Snail (known locally as the “Cherry Snail”.) 3. Bird numbers have reportedly decreased. There are fewer of egrets around the lakes of Nong Kiew, Nong Nam Ron and Nong Yao.
4. The destruction of wild fauna some of which were captured for sale.
5. Local lifestyles are changing since some business people have taken up land for big farms. This affects local people who are mostly rearing water buffaloes or fishing.
6. Land near Nong Yao lake has been used as an illegal garbage dump.
7. Some conservation activities. (bird watching and water monitoring projects, initiated by Jan Jwa School between 2005-2006) has ceased due to lack of staff and equipment.However, recently about 70 local women have formed Yonok Women’s Conservation Group. They have initiated many activities including monitoring of illegal bird sales, dismantling bird traps, training in bird watching for local children, and also teaching English for local communities.Jan Jwa School will organize youth camp on 9-10 August, 2008 and Rajaphat Chieng Rai University will organize focus group meetings with the support of BCST.

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

HORNBILL RESEARCH FOUNDATION SUPPORTS TRAINING OF THAI INTERNS AT THE WETLAND TRUST, UK

Dr. Pilai Poonswad's Hornbill Research Foundation generously supported costs of travel and subsistence for two DNP researchers, Ms Somying Thunhikorn, Chief of Phu Luang Wildlife Research Station, and Ms Kultida Itthipon, staff of Bung Boraphet Wldlife Research Station, enabling them to participate in bird-banding activities at The Wetland Trust, Icklesham, UK, during September 2008. The Wetland Trust administers and manages its own wetland bird reserve in the Pannel Valley, East Sussex, on the English south coast. It is a migration hot spot and well over 30,000 birds are banded there annually. This provides ample opportunity for UK-based ringers and, increasingly in recent years, ringers and bird banders and researchers from Asia, Africa and South America, to improve their mist-netting, bird-handling and banding skills. A formal training course is also run, but the great strength of Icklesham is the great opportunity that day-to-day activities offer to meet new friends and exchange experiences in idyllic suroundings.
Somying’s Totals Summary
Printed on:
30-Sep-08



Retraps/




Full grown
Pulli
Recoveries
Total

Mallard
1
0
3
4
Tufted Duck
0
0
3
3
Great Spotted Woodpecker
1
0
0
1
Sand Martin
7
0
0
7
Swallow
3
0
0
3
Tree Pipit
1
0
0
1
Meadow Pipit
11
0
0
11
Yellow Wagtail
32
0
1
33
Wren
0
0
3
3
Dunnock
1
0
3
4
Robin
5
0
1
6
Redstart
1
0
0
1
Whinchat
1
0
0
1
Stonechat
1
0
0
1
Blackbird
1
0
2
3
Song Thrush
1
0
0
1
Cetti's Warbler
3
0
3
6
Grasshopper Warbler
4
0
1
5
Sedge Warbler
126
0
3
129
Reed Warbler
74
0
7
81
Lesser Whitethroat
3
0
1
4
Whitethroat
25
0
3
28
Garden Warbler
6
0
2
8
Blackcap
194
0
15
209
Chiffchaff
8
0
1
9
Willow Warbler
7
0
1
8
Goldcrest
2
0
0
2
Spotted Flycatcher
1
0
0
1
Long-tailed Tit
0
0
2
2
Blue Tit
3
0
1
4
Great Tit
4
0
2
6
Nuthatch
1
0
0
1
Jay
1
0
0
1
Greenfinch
1
0
0
1
Goldfinch
1
0
0
1
Bullfinch
2
0
1
3
Reed Bunting
3
0
0
3





Total:
536
0
59

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

A Love Story


His wife is injured and her condition is very appalling....













He brings her food and attends to her with love and compassion















He brings her food but is shocked with her death and tries to move her .


He finds out that his sweetheart is dead and will not come back to him-- he cries with adoring love .

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

นก . . สัญญาณเตือนภัยจากโลกร้อน

ปัจจุบันประชาคมโลกยอมรับแล้วว่า ภาวะโลกร้อนไม่ใช่นิทานหลอกเด็ก ของนักวิทยาศาสตร์กระต่ายตื่นตูมอีกต่อไปพวกเราทุกคนล้วนรับรู้ได้ถึงผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมของภาวะโลกร้อน
สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติปกติที่เคยเกิดขึ้นกับโลกที่ผ่านเข้า – ออกยุคน้ำแข็ง อันเป็นผลจากการเบี่ยงเบนวิถีวงโคจรของโลกที่บางครั้งเข้าใกล้หรือบางครั้งห่างไกลจากดวงอาทิตย์เป็นวัฐจักรครั้งแล้วครั้งเล่า มาแล้วชั่วกัปชั่วกัลป์
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้รวดเร็วเกินกว่าครั้งใดๆ จนเชื่อได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ “ผิดธรรมชาติ” อันเป็นผลมาจากน้ำมือมนุษย์นั่นเอง
อุณหภูมิที่สูงขึ้นนี้ไม่ได้ส่งผลเพียงให้เรารู้สึกอึดอัด หงุดหงิด เหนียวตัวจนต้องวิ่งไปตากแอร์ตามห้างฯ ผลกระทบของมันยิ่งใหญ่กว้างไกลและลึกซึ้งกว่านั้นมาก
ปัญหาความแห้งแล้ง การเหือดแห้งของสายธารที่หล่อเลี้ยงชีวิต ไฟป่าที่รุนแรงและถี่ขึ้น สังคมป่าที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก
สิ่งมีชีวิตน้อย – ใหญ่เหล่านี้เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนการสร้างความอุดมสมบูรณ์และความปกติสุขของระบบนิเวศและระบบพยุงชีวิตของโลก (life – support system) ที่ดำเนินมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จึงส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ไปยังทุกชีวิตบนโลก
นักดูนกอาจสังเกตเห็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกได้โดยตรง นกหลายชนิดที่ปกติจะต้องอพยพย้ายถิ่นจากเขตหนาวลงมายังเขตร้อนในช่วงฤดูหนาวกลับไม่อพยพลงมา เนื่องจากฤดูหนาวในตอนบนของทวีป ไม่หนาวจัดจนเป็นปัญหาต่อการดำรงชีพอย่างในอดีต หรือบางตัวที่อพยพลงมาก็บินกลับไปถิ่นหนาวเร็วขึ้นกว่าที่เคยมีบันทึกไว้แต่ก่อน หลายสัปดาห์ (เช่น บินอพยพกลับไปตั้งแต่มีนาคม แทนที่จะเป็นเมษายนเป็นต้น)
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและความแห้งแล้งส่งผลต่อปริมาณและจังหวะเวลาของการออกดอก ออกผลของไม้ป่าหลายชนิด นกที่กินผลไม้เป็นหลักอย่างนกเงือก นกโพระดก จึงได้รับผลกระทบโดยตรง
ผลการศึกษาระยะยาวของโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือกที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ ระยะเวลาตั้งแต่นกเข้าโพรงรัง ออกไข่ เลี้ยงลูกจนลูกนกออกจากโพรงรัง ของนกกก หรือ นกกาฮัง ยืดเวลาออกจากเดิมเฉลี่ย 120 วันเป็นราว 140 วันในปัจจุบัน สาเหตุหนึ่งอาจเนื่องจากผลไม้ที่เป็นพืช อาหารนกไม่เพียงพอนั่นเอง
ตัวอย่างที่ชัดเจนอีกอย่างคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับดอยอินทนนท์ และดอยสูงทางภาคเหนือ
ป่าดิบเขาเป็นระบบนิเวศที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทุกวันนี้เมื่อเราไปเที่ยวยอดดอยอินนนท์ เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของป่าได้อย่างชัดเจน จากสภาพป่ายอดดอยที่เคยชุ่มชื้น มีเมฆหมอกปกคลุม ลำต้นและกิ่งไม้ถูกปกคลุมห่อหุ้มไปด้วยเฟิร์นและกล้วยไม้นานาชนิด ดูเขียวชอุ่มชุ่มฉ่ำ เปล่งปลั่งไปทั้งป่า
มาวันนี้ เรากลับพบ ต้นก่อ ต้นกุหลาบพันปี หลายต่อหลายต้นยืนแห้งตาย หักล้มระเนระนาด ผืนมอสที่ปกคลุมกิ่งก้านหลุดออก ถลอกปลอกเปิดเป็นแผ่นๆ เฟิร์น กล้วยไม้ และไลเค็น แห้งกรอบตายคาต้น ดูแล้วเป็นสภาพที่น่าหดหู่ใจอย่างยิ่ง
ข้อมูลจากการสำรวจนกประจำปีดอยอินทนนท์ (Inthanon Bird Census) แสดงให้เราเห็นว่า นกหลายชนิดที่เป็นนกประจำถิ่นที่พบแต่เพียงในป่าดิบเขาสูงเริ่มลดจำนวนลง ในขณะที่เรากลับพบนกที่ปกติอาศัยในป่าต่ำลงมาที่ทนต่อความแห้งแล้งได้มากกว่า มาอาศัยทดแทน
เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนภัยให้พวกเราตระหนักถึงอันตรายอันใหญ่หลวงที่กำลังจะตามมา
หากแต่มีใครบ้างที่ใส่ใจ ฟังสัญญาณเตือนเหล่านี้และลงมือแก้ไขก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
ถึงคราวต้องลั่นเสียงไซเรน ประกาศภาวะฉุกเฉินทางนิเวศแล้วกระมัง

ดูนก ช่วยลดโลกร้อน...ได้อย่างไร
การดูนกเป็นกิจกรรมที่สนุก น่าตื่นเต้น ผู้เข้ามาเรียนรู้การดูนกจะรู้สึกเพลิดเพลินกับพฤติกรรม สีสันรูปทรงแปลกตาและเสียงร้องที่ไพเราะหลากหลายของนกนานาพันธุ์
เมื่อเริ่มรู้จักนก ก็เริ่มมีความช่างสังเกต มองเห็น นกรอบๆตัวมากขึ้นและยิ่งมีความต้องการค้นหานกพันธุ์แปลกๆที่ตนไม่เคยเห็นมาก่อน กิจกรรมดูนกจึงนำพานักดูนก เข้าไปสัมผัสธรรมชาติในโลกกว้างในระบบนิเวศต่างๆ ตั้งแต่ชายทะเล และป่าชายเลนริมฝั่งอ่าวไทยตอนใน จนถึงป่าเมฆแห่งยอดดอยอินทนนท์ และจากพื้นที่ชุ่มน้ำริมโขงเหนือสุดแดนสยาม จนถึงป่าดิบชื้น แห่งฮาลาบาลา ชายแดนมาเลเซีย
เมื่อยิ่งได้รู้จักนกและเรื่องราวชีวิตพวกของมันมากเท่าใด นักดูนกก็เริ่มเห็นความเกี่ยวโยงของนกและสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัย ในที่สุด นักดูนกจะสามารถปะติดปะต่อจิ๊กซอร์ข้อมูลจนมองเห็นภาพใหญ่ เกิดความเข้าใจการทำงานของระบบนิเวศที่ซับซ้อนได้
จากความรู้และความเข้าใจ นักดูนกจึงเกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน มีความรัก ความเมตตา ต่อสรรพชีวิตรอบตัวมีความเคารพและศรัธทาต่อวิถีแห่งธรรมชาติ ลดอัตตาและความอหังการของการเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ มองเห็นผลกระทบของการกระทำของตนต่อส่วนรวม
และเมื่อถึงวันที่นักดูนกตระหนักมากพอ เขาก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้บริโภคแต่พอเพียง ไม่ติดความสะดวกสบาย ลดความสิ้นเปลืองฟุ้งเฟ้อสูญเปล่า ดำเนินชีวิตให้ส่งผลกระทบเบียดเบียนและเป็นภาระต่อโลกให้น้อยที่สุด และยังชักชวนเพื่อนฝูงให้มาเป็นแนวร่วมอุดมการณ์ หรือลุกขึ้นแก้ไขฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองอย่างเป็นรูปธรรม
ดังนี้แล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่ากิจกรรมดูนกช่วยหล่อหลอมคน ให้เป็นคนดี มีสำนึกและความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและต่อโลก
หากเราสามารถปลูกฝังเผยแพร่ความรักธรรมชาติ รักนกให้กว้างขวางยิ่งขึ้นในหมู่ประชาชนแล้ว โลกนี้ก็อาจสามารถพ้นวิกฤตและความหายนะจากภาวะโลกร้อนและการล่มสลายของระบบนิเวศที่ค้ำจุนชีวิตทั้งมวลบนโลก ไปได้

10 วิธี ที่นักดูนกจะช่วยลดโลกร้อน
1. ปลูกต้นไม้ เยอะๆ จัดทำบริเวณบ้านให้ร่มรื่นให้เป็นที่อยู่ และแหล่งอาหารของนก ทำให้ได้มีนกเข้ามาอาศัยในบ้านมากมาย และช่วยลดก๊าซเรือนกระจก
2. ลดการใช้น้ำมัน เดินทางไปดูนกด้วยระบบขนส่งมวลชน หรือแชร์รถกัน หารเฉลี่ย ทางเดียวกันไปด้วยกัน ลดการใช้เครื่องบิน เดินทางไปดูนกในประเทศลองเลือกใช้ระบบขนส่งอื่นๆ เช่นรถไฟ รถประจำทาง เพราะระยะทางเท่ากัน เครื่องบินใช้เชื้อเพลิงมากที่สุด
3. ลดการใช้ไฟฟ้า เปิดเท่าที่จำเป็น ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้ อย่าชาร์ตไฟข้ามวัน เปิดแอร์ที่อุณหภูมิพอเหมาะ ทำความสะอาดสม่ำเสมอ หรือออกมาเดินดูนกรับลมนอกบ้านก็ประหยัดไฟเหมือนกัน
4. ช็อบปิ้งอย่างมีสติ ไม่ซื้อของฟุ่มเฟือย ลดการใช้บรรจุภัณฑ์
5. พกถุงผ้าใส่ของ ลดการใช้ถุงพลาสติก ลดการสร้างขยะ
6. ลดความสะดวกสบายลงเสียบ้าง วางแผนการใช้ชีวิต ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเรา
7.ใช้จักรยานหรือเดินมากขึ้นถ้าเดินทางไม่ไกล อย่าลืมว่ามีขา
8. ลดขยะ โดยการใช้ให้น้อยลง หรือแยกขยะก่อนทิ้ง ใช้ของรีไซเคิล คัดแยกของที่ยังมีประโยชน์ส่งต่อให้คนที่ต้องการ และซ่อมแซมของใช้เพื่อลดการทิ้งขยะ ไปดูนกต่างจังหวัด เราก็พกไปบริจาคให้เด็กที่ขาดแคลน
9.ใช้พลังงานสะอาด เช่นพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์
10.บริโภคอาหารออร์แกนิก ปลอดภัยกับตัวเองเพราะปลอดสารเคมี และบริโภคของที่ผลิตในประเทศ เพราะเป็นการลดการใช้เชื้อเพลิงในการขนส่ง และลดการเสียดุลการค้า

อากาศที่อบอุ่นขึ้นทำให้นกอพยพเร็วอย่างน่าอันตราย

อากาศที่อบอุ่นตามแนวชายฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้นกจำนวนมากอพยพมาถึงในฤดูใบไม้ผลิเร็วขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม ยิ่งนกเหล่านี้เดินทางไกลเท่าใด พวกมันก็ยิ่งมีโอกาสน้อยยิ่งขี้นด้วยที่จะปรับตัวทันกับดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
นักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยบอสตันและศูนย์มาโนเม็ทเพื่อวิทยาศาสตร์การอนุรักษ์
(Manomet Center for Conservation Sciences) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาการอพยพในฤดูใบไม้ผลิของนก 32 ชนิดตามชายฝั่งทางตะวันออกของรัฐแมสสาชูเส็ทส์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 นักวิจัยที่ศูนย์มาโนเม็ทรวบรวมข้อมูลนี้โดยการดักนกด้วยตาข่าย ติดแถบสี และปล่อยไป รายงานการค้นพบของพวกเขาที่ตีพิมพ์ใน Global Change Biology แสดงให้เห็นว่านก 8 ใน 32 ชนิดที่ศึกษานั้นเดินทางผ่านแหลมค็อดก่อนหน้าช่วงเวลาที่พวกมันเคยใช้ในการอพยพขึ้นเหนือเมื่อ 38 ปีก่อนอย่างสำคัญ เหตุผลน่ะหรือ? อากาศที่อบอุ่นขึ้นนั่นเอง นับตั้งแต่ปี 2513 เป็นต้นมา อุณหภูมิทางฝั่งตะวันออกของรัฐแมสสาชูเส็ทส์ได้เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส
นกชนิดต่างๆ เช่น Swamp Sparrow ที่มาอาศัยทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาในฤดูหนาว โดยทั่วไปแล้วปรับตามไปได้กับอากาศที่อบอุ่นขึ้นและการแตกใบใหม่ของต้นไม้ต่างๆ พวกมันอพยพเร็วขึ้นเมื่ออากาศอบอุ่นและช้าออกไปเมื่ออากาศในฤดูใบไม้ผลิเย็น
แต่นกที่มาอาศัยในฤดูหนาวอยู่ใต้ลงไป เช่น Great Crested Flycatcher ซึ่งใช้เวลาในฤดูหนาวอยู่ในอเมริกาใต้นั้น เวลาการอพยพของพวกมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปถึงแม้อากาศจะอบอุ่นขึ้นในแถบนิวอิงแลนด์ก็ตาม
ดูเหมือนว่านี่จะเป็นเหตุผลที่ดีของความแตกต่างระหว่างนกอพยพระยะใกล้และนกอพยพระยะไกล เนื่องจากอุณหภูมิตามแนวชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาส่วนมากเชื่อมโยงกัน เช่น ฤดูใบไม้ผลิที่มาเร็วในรัฐแคโรไลน่าเหนือจะหมายถึงฤดูใบไม้ผลิที่มาเร็วในรัฐแมสสาชูเส็ทส์ด้วย นกที่อพยพในระยะใกล้จะเห็นได้ว่าเมื่อใดจะอพยพไปสู่บริเวณตอนเหนือขึ้นไป พวกมันสามารถอพยพตามการแตกใบและการออกมาของแมลงตามเส้นทางอพยพไปได้ตลอดจนถึงแหล่งขยายพันธุ์ของมันได้ในแต่ละปี แต่นกที่อพยพระยะทางไกลจะไม่มีอะไรมาบอกมันว่าปีนี้ฤดูใบไม้ผลิจะมาเร็วหรือมาช้าตามเส้นทางอพยพของพวกมันที่อยู่ตอนเหนือขึ้นไป ลมฟ้าอากาศในอเมริกาใต้มีความสัมพันธ์น้อยมากกับลมฟ้าอากาศในนิวอิงแลนด์
การปรับตัวเข้ากับอากาศที่อบอุ่นขึ้นได้ช้าอาจมีผลร้ายแรงต่อนกที่อพยพระยะไกล นักวิจัยกลุ่มเดียวกันนี้แสดงให้เห้นด้วยว่า ต้นไม้ในรัฐแมสสาชูเส็ทส์แตกดอกออกใบเร็วขึ้นกว่าในอดีต ดูเหมือนว่านกที่อพยพระยะสั้นปรับตัวได้ทันตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ แต่นกที่อพยพระยะไกลจะถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง ในขณะที่อุณหภูมิสูงขึ้นไปเรื่อย พวกมันอาจประสบกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปมากขึ้นทุกทีจากสภาพแวดล้อมที่มันปรับตัวเข้าหา นักวิจัยอื่นๆได้สังเกตเห็นมาแล้วว่านกอพยพระยะไกลบางชนิดที่กลับมาจากพื้นที่อยู่อาศัยในฤดูหนาวมาขยายพันธุ์ในยุโรปตอนนี้มาผิดเวลากับอาหารที่เป็นแมลงของพวกมันแล้ว การที่นกบางชนิดไม่สามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงดินฟ้าอากาศอาจเป็นปัจจัยสำคัญต่อการลดลงของประชากรนกร้องเพลง (songbird) ที่เกิดขึ้นในช่วงสองสามปีมานี้

กวิน ชุติมา แปลจาก Warming temperature dangerously pushing migrations ever forward เขียนโดย Wiley Blackwell ใน Environment News Network, 20 มิถุนายน 2008

chiang mai birdwalk 8


มีข่าวฝากมาบอกครับ จากชมรมดนกลานนา วันที่7 ธันวานี้ทางสมาคมดูนกลานนาจะจัดกิจกรรม birdwalk พาไปเดินดูนกดอยสุเทพ-ปุย

ตั้งแต่เวลา 7.30 น.ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ใครสนใจอย่าลืมไปร่วมกิจจกรรมกันนะครับ